Loading...

เกี่ยวกับหลักสูตร

ประวัติการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์              

           คณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับการสถาปนาเป็นคณะลำดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 113 ตอนที่ 24 ก คณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับการก่อตั้งตามแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษาระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) ในการจัดการศึกษาสาขาวิชาชีพการพยาบาล ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อผลิตพยาบาลในการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่สังคม และเพื่อปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยได้ตัดโอนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพยาบาลทั้งหมด รวมทั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตร 1 ปี) พ.ศ. 2538 จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2539 คณะพยาบาลศาสตร์ ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนเป็นปีแรก โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตร 1 ปี) ทั้งนี้ได้จัดการเรียนการสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลเพียง 1 รุ่น

          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาครั้งแรกในปีการศึกษา 2548 โดยเปิด 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว ต่อมาในในปีการศึกษา 2551 ได้เปิดสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ขึ้น ซึ่งต่อมาปรับเป็นสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคม และมีการปรับปรุงหลักสูตรตามวงรอบทุก 5 ปี ในปีการศึกษา 2558 คณะพยาบาลศาสตร์ ได้เปิดหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พยาบาลศาสตร์) หลักสูตรนานาชาติ หรือ Doctor of Philosophy; Ph.D. (Nursing Science) ขึ้น ปัจจุบัน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา 4 หลักสูตร ได้แก่ระดับปริญญาโท 3 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร

          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะส่งมอบบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิตทางการพยาบาลที่มีคุณภาพเทียบเท่าคณะพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ และมีอัตลักษณ์พยาบาลธรรมศาสตร์ คือ“คุณธรรมนำชีวิต คิดเป็นระบบ ค้นพบนวัตกรรม ภาวะผู้นำโดดเด่น เป็นพลเมืองดี” ให้กับสังคมและประชาชนตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ที่ว่า “มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน” หรือ "THAMMASAT FOR THE PEOPLE"

          คณะพยาบาลศาสตร์ ดำเนินการหลักสูตรทุกหลักสูตรตามแนวทางการจัดการการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ (Outcome based education) และให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรทุกระดับ สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา ปัจจุบันดำเนินการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาโทด้วยเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (IQA) ส่วนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตพยาบาลศาสตร์ ประกันคุณภาพโดยใช้เกณฑ์ Asian University Network Quality Assurance (AUNQA) และคาดว่าทุกหลักสูตรจะได้รับการขึ้นทะเบียนหลักสูตรที่มีคุณภาพ (Thai Qualification Register: TQR)

          ทั้งนี้ในการผลิตบัณฑิตทุกระดับให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล รวมทั้งมีอัตลักษณ์พยาบาลธรรมศาสตร์ตามที่กำหนด โดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา การเตรียมและพัฒนาอาจารย์มีความสำคัญมาก ดังนั้นการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาให้ทราบเกณฑ์คุณภาพที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการพัฒนาตนเองที่ชัดเจน จึงเป็นส่วนหนึ่งของบันไดขั้นแรกที่นำไปสู่การรับรองคุณภาพหลักสูตรและสถาบันต่อไป การจัดทำคู่มือสำหรับปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ระดับบัณฑิตศึกษา ให้มีมาตรฐาน ครอบคลุมเกณฑ์คุณภาพที่เป็นปัจจุบันจึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยให้อาจารย์ใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาทุกคนได้ทราบแนวทาง และได้รับโอกาสในการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน

          จะเห็นได้ว่า กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยังคงมุ่งมั่นที่จะก้าวต่อไปอย่างมั่นคงเพื่อส่งมอบบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิตทางการพยาบาลที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล และมีอัตลักษณ์พยาบาลธรรมศาสตร์ให้กับสังคมและประชาชนต่อไป

 

ปรัชญาการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                                                                                                                         

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง มีผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ที่มีคุณภาพระดับสูงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ หลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เน้นความสมบูรณ์ ลุ่มลึก และโดดเด่นในองค์ความรู้ที่ครบถ้วนในทุกศาสตร์ เพื่อการพัฒนา และการแก้ปัญหาให้แก่สังคมไทยและภูมิภาค สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาวะเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัฒน์

อ้างอิง: http://sa.tu.ac.th/

หลักสูตร

                            หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ                                       ปรัชญาหลักสูตร (Program Philosophy)                                                                                                                                         

          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชื่อว่า การผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) และเป็นบัณฑิตพยาบาลที่มีความรู้ความชำนาญด้านการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุนั้นต้องเป็นผู้ที่สามารถบูรณาการความรู้ที่ทันสมัย หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติได้อย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ สามารถสังเคราะห์และใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ใช้เทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัย ออกแบบนวัตกรรม และการวิจัยทางการพยาบาลเพื่อการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน และเน้นผลลัพธ์ รวมถึงมีความสามารถในการตัดสินใจ เชิงจริยธรรมในสถานการณ์ที่ซับซ้อน สามารถเป็นผู้สอน และเป็นที่ปรึกษาแก่บุคลากร หน่วยงาน เป็นผู้นำริเริ่มการเปลี่ยนแปลง สามารถประสานความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต

ความสำคัญของหลักสูตร (Program Importance)                                                                                                               

          หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มีความสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะการพยาบาลขั้นสูงของบุคลากรพยาบาลในระบบบริการสุขภาพของประเทศเพื่อการดูแลสุขภาพประชาชนวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน ทั้งจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มลพิษ ภัยพิบัติ และโรคอุบัติใหม่ ทั้งที่เป็นภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน เรื้อรัง เจ็บป่วยวิกฤต ต้องการการดูแลแบบประคับประคอง และผู้ที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต โดยออกแบบการพยาบาล/สร้างนวัตกรรมทางการพยาบาล เพื่อยกระดับคุณภาพการดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถฟื้นฟูสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น สำหรับผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิตเน้นการดูแลให้ผู้ป่วยมีระยะท้ายของชีวิตที่สงบ ไม่อยู่ในความเจ็บปวด มีประสบการณ์ของความสุขสบาย มีประสบการณ์ของความมีศักดิ์ศรี จิตใจอยู่ในความสงบ และมีความใกล้ชิดกับญาติมิตรและบุคคลที่รักและผูกพัน โดยคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม และให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ การดูแล นอกจากนี้ หลักสูตรยังเน้นพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนให้มีความสามารถ ในการใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อแก้ปัญหาการปฏิบัติการพยาบาลในคลินิก รวมถึงการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพผู้รับบริการวัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน โดยบูรณาการทฤษฎีทางการพยาบาลศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทันสมัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร  (Program Learning Outcomes, PLOs)                                                                      

     ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) มีดังต่อไปนี้

(1)  ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาซับซ้อนตลอดวิถีการเจ็บป่วย จนถึงระยะท้ายของชีวิตโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล/ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง/หลักฐานเชิงประจักษ์/เทคโนโลยีที่ทันสมัย ตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ รวมถึงประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล 

(2)  สร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา/พัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน เรื้อรัง วิกฤต และการดูแลแบบประคับประคองบุคคลในระยะท้ายของชีวิต 

(3)  สร้างงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหา/พัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน เรื้อรัง วิกฤต และการดูแลแบบประคับประคองบุคคลในระยะท้ายของชีวิต 

(4)  เผยแพร่ผลงานวิชาการ/ผลงานวิจัย เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน เรื้อรัง วิกฤต และการดูแลแบบประคับประคองบุคคลในระยะท้ายของชีวิต ในระดับชาติ/นานาชาติ 

(5)  แสดงออกถึงภาวะผู้นำในการริเริ่ม เปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแล ร่วมกับทีม สหสาขาวิชาชีพ เครือข่ายการดูแล ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

(6)  แสดงออกถึงการมีทักษะในการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีทางสุขภาพที่ทันสมัย เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (ดิจิทัลเทคโนโลยีทางสุขภาพ เช่น โปรแกรม คอมพิวเตอร์ Telehealth สื่อออนไลน์, AI, Big data ฯลฯ)

(7)  แสดงออกถึงการมีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะการอ่านและการสรุปความ และการคิดวิเคราะห์

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร                                                                                                                                        

 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรแผน ก  แบบ ก 2      37   หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร (Program Structure)                                                                                                                                

 แผน ก แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

วิชาแกน  

- นับหน่วยกิต  

หน่วยกิต 

- ไม่นับหน่วยกิต  

หน่วยกิต 

วิชาบังคับเฉพาะสาขา 

13 

หน่วยกิต 

วิชาเลือก 

หน่วยกิต 

วิทยานิพนธ์ 

12 

หน่วยกิต 

รวมหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  37   หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือก (Elective Course) ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต                                                                                                   

วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน                                                                                                                                 

 

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร                                                                                                                                                                      

สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ผศ.ดร.เบญญพร บรรณสาร
รศ.ดร.จิณพิชญ์ชา สาธิยมาส
ผศ.ดร.บุณฑริกา ชาตรีวัฒนกุล

 -

อาจารย์ประจำหลักสูตร                                                                                                                                                               

สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ผศ.ดร.เบญญพร บรรณสาร
รศ.ดร.จิณพิชญ์ชา สาธิยมาส
ผศ.ดร.บุณฑริกา ชาตรีวัฒนกุล

-

รศ.ดร.เยาวรัตน์ มัชฌิม
รศ.ดร.ธีรนุช ห้านิรัติศัย
ผศ.ดร.บวรลักษณ์ ทองทวี

-

อ.ดร.ศิริลักษณ์ แก้วศรีวงค์

 

------อาจารย์ผู้สอน                                                                                                                                                                             

สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ผศ.ดร.เบญญพร บรรณสาร
รศ.ดร.จิณพิชญ์ชา สาธิยมาส
ผศ.ดร.บุณฑริกา ชาตรีวัฒนกุล

-

รศ.ดร.เยาวรัตน์ มัชฌิม
รศ.ดร.ธีรนุช ห้านิรัติศัย
ผศ.ดร.บวรลักษณ์ ทองทวี

 
อ.ดร.ศิริลักษณ์ แก้วศรีวงค์
ผศ.ดร.ปิยะวรรณ ขนาน
 
 
อ.ดร.บังอร ปีประทุม

-----

เจ้าหน้าที่ดูแลหลักสูตร                                                                                                                                                                    

 

 

-----

คุณสมบัติผู้สมัคร

เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 7 แห่งข้อบังคับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาใน/ต่างประเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ

(2) มีผลการเรียนที่ค่าเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.50 หากผู้สมัครมีค่าเฉลี่ยสะสม (GPA) ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คณะกรรมการสอบคัดเลือกของคณะฯ จะพิจารณาเป็นรายกรณี

(3) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง หรือการพยาบาล ชั้นหนึ่งที่ยังไม่หมดอายุ

(4) กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทย ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพหรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศนั้น ๆ กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลในประเทศของผู้สมัคร

(5) มีประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาล ไม่ต่ำกว่า 1 ปี นับถึงวันรับสมัคร

 

นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้

(1) สําเร็จการศึกษาขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดหลักสูตร ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

(2) ไม่เป็นผู้ป่วยหรืออยู่ในสภาวะที่จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการศึกษา

(3) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดศีลธรรมอันดี หรือมีพฤติกรรมเสื่อเสียอย่างร้ายแรง

(4) ต้องไม่เคยถูกคัดชื่อออกจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นเพราะมีความผิดทางวินัยภายในระยะเวลา 10 ปี ก่อนการสมัครเข้าเป็นนักศึกษา

วิธีการคัดเลือก                                                                                                                                                                      

(1) ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์

(2) ผู้เข้าศึกษาต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU–GET หรือ TOEFL หรือ IELTS (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)

(3) เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ของคณะพยาบาลศาสตร์

รับสมัครนักศึกษาใหม่

สมาคมศิษย์เก่า

ดาวน์โหลดฟอร์มและเอกสารต่างๆ

ข้อบังคับกฏระเบียบต่างๆ

ข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2553

ระเบียบว่าด้วยวิทยานิพนธ์ พ.ศ.2553


อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าใช้จ่าย


ข้อกำหนดวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์

รายละเอียดขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์

รายละเอียดขั้นตอนและแนวปฏิบัติในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา


แบบฟอร์มสำหรับอาจารย์

แบบฟอร์มเปลี่ยนแปลงวันสอนของอาจารย์


แบบฟอร์มคำร้องขอต่างๆ

แบบฟอร์มคำร้องขอแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.1)

แบบฟอร์มคำร้องขอเปลี่ยนอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.2)

แบบฟอร์มคำร้องขอสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.3)

แบบฟอร์มคำร้องขอสอบวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.4)

แบบฟอร์มคำร้องขอสอบประมวลวิชาระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.5)

แบบฟอร์มคำร้องขอเปลี่ยนหัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (บพ.6)

แบบฟอร์มขอรักษาสถานภาพนักศึกษา/ลาศึกษาต่อ

แบบฟอร์มขาดสอบ (นศ.)


แบบฟอร์มขั้นตอนการนำเสนอต่างๆ

ขั้นตอนการเสนอหัวข้อ และโครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสังเขป

ขั้นตอนการเสนอสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

ขั้นตอนการเสนอสอบวิทยานิพนธ์ และแจ้งจบการศึกษา

ขั้นตอนในการส่งบทคัดย่อเพื่อตรวจสอบความถูกต้องทางภาษาอังกฤษ


แบบฟอร์มการประเมินต่าง

แบบประเมินสมรรถนะหลักของมหาบัณฑิต(ตอนที่ 1)

แบบประเมินสมรรถนะเฉพาะสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต(ตอนที่ 2)

แบบประเมินสมรรถนะเฉพาะสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน(ตอนที่ 2)

แบบประเมินสมรรถนะเฉพาะสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่(ตอนที่ 2)


แบบฟอร์มการแสดงความคิดเห็นต่าง

ความคิดเห็นโดยรวมต่อหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (ตอนที่ 3)

ความคิดเห็นภายหลังสำเร็จการศึกษา(ตอนที่ 4)


แบบสอบถาม

ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้ร่วมงาน ต่อสมรรถนะเชิงวิชาชีพของมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้ร่วมงาน ต่อสมรรถนะเชิงวิชาชีพของมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้ร่วมงาน ต่อสมรรถนะเชิงวิชาชีพของมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่


หนังสือบันทึก

หนังสือบันทึก(ขอส่งโครงร่างวิทยานิพนธ์ฯเข้าพิจารณาในคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยภายนอก)

หนังสือบันทึก(ขอความอนุเคราะห์ขอใช้เครื่องมือวิจัย)

หนังสือบันทึก(ขอขยายเวลาการส่งเล่มวิทยานิพนธ์)

หนังสือบันทึก(ขอเรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิตรวจเครืองมือวิจัย)

หนังสือบันทึก(ขอส่งโครงร่างวิทยานิพนธ์เข้าพิจารณาในสาขาและคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา)

หนังสือบันทึก(ทดสอบเครื่องมือวิจัยและเก็บข้อมูลวิจัย) 

แผ่นพับหลักสูตร

แผ่นพับหลักสูตร-adult-2565

 

 

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

website counters