Loading...

เกี่ยวกับหลักสูตร

ประวัติการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์              

           คณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับการสถาปนาเป็นคณะลำดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 113 ตอนที่ 24 ก คณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับการก่อตั้งตามแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษาระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) ในการจัดการศึกษาสาขาวิชาชีพการพยาบาล ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อผลิตพยาบาลในการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่สังคม และเพื่อปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยได้ตัดโอนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพยาบาลทั้งหมด รวมทั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตร 1 ปี) พ.ศ. 2538 จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2539 คณะพยาบาลศาสตร์ ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนเป็นปีแรก โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตร 1 ปี) ทั้งนี้ได้จัดการเรียนการสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลเพียง 1 รุ่น

          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาครั้งแรกในปีการศึกษา 2548 โดยเปิด 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว ต่อมาในในปีการศึกษา 2551 ได้เปิดสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ขึ้น ซึ่งต่อมาปรับเป็นสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคม และมีการปรับปรุงหลักสูตรตามวงรอบทุก 5 ปี ในปีการศึกษา 2558 คณะพยาบาลศาสตร์ ได้เปิดหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พยาบาลศาสตร์) หลักสูตรนานาชาติ หรือ Doctor of Philosophy; Ph.D. (Nursing Science) ขึ้น ปัจจุบัน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา 4 หลักสูตร ได้แก่ระดับปริญญาโท 3 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร

          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะส่งมอบบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิตทางการพยาบาลที่มีคุณภาพเทียบเท่าคณะพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ และมีอัตลักษณ์พยาบาลธรรมศาสตร์ คือ“คุณธรรมนำชีวิต คิดเป็นระบบ ค้นพบนวัตกรรม ภาวะผู้นำโดดเด่น เป็นพลเมืองดี” ให้กับสังคมและประชาชนตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ที่ว่า “มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน” หรือ "THAMMASAT FOR THE PEOPLE"

          คณะพยาบาลศาสตร์ ดำเนินการหลักสูตรทุกหลักสูตรตามแนวทางการจัดการการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ (Outcome based education) และให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรทุกระดับ สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา ปัจจุบันดำเนินการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาโทด้วยเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (IQA) ส่วนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตพยาบาลศาสตร์ ประกันคุณภาพโดยใช้เกณฑ์ Asian University Network Quality Assurance (AUNQA) และคาดว่าทุกหลักสูตรจะได้รับการขึ้นทะเบียนหลักสูตรที่มีคุณภาพ (Thai Qualification Register: TQR)

          ทั้งนี้ในการผลิตบัณฑิตทุกระดับให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล รวมทั้งมีอัตลักษณ์พยาบาลธรรมศาสตร์ตามที่กำหนด โดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา การเตรียมและพัฒนาอาจารย์มีความสำคัญมาก ดังนั้นการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาให้ทราบเกณฑ์คุณภาพที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการพัฒนาตนเองที่ชัดเจน จึงเป็นส่วนหนึ่งของบันไดขั้นแรกที่นำไปสู่การรับรองคุณภาพหลักสูตรและสถาบันต่อไป การจัดทำคู่มือสำหรับปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ระดับบัณฑิตศึกษา ให้มีมาตรฐาน ครอบคลุมเกณฑ์คุณภาพที่เป็นปัจจุบันจึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยให้อาจารย์ใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาทุกคนได้ทราบแนวทาง และได้รับโอกาสในการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน

          จะเห็นได้ว่า กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยังคงมุ่งมั่นที่จะก้าวต่อไปอย่างมั่นคงเพื่อส่งมอบบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิตทางการพยาบาลที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล และมีอัตลักษณ์พยาบาลธรรมศาสตร์ให้กับสังคมและประชาชนต่อไป

 

ปรัชญาการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                                                                                                                         

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง มีผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ที่มีคุณภาพระดับสูงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ หลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เน้นความสมบูรณ์ ลุ่มลึก และโดดเด่นในองค์ความรู้ที่ครบถ้วนในทุกศาสตร์ เพื่อการพัฒนา และการแก้ปัญหาให้แก่สังคมไทยและภูมิภาค สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาวะเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัฒน์

อ้างอิง: http://sa.tu.ac.th/

หลักสูตร

                            หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน                                            ปรัชญาหลักสูตร (Program Philosophy)                                                                                                                                         

          หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มุ่งผลิตมหาบัณฑิต ที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสตร์การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน และการรักษาโรคเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพประชาชนในระดับปฐมภูมิ การจัดการผ่านกระบวนการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อดูแลรักษาประชาชนและครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยและเจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองในการแสวงหาความรู้ใหม่และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ความสำคัญของหลักสูตร (Program Importance)                                                                                                               

          หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มีความสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนทิศทางของการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้มีประสิทธิภาพและสนับสนุนการจัดบริการได้ ทั้งนี้เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี และความรู้ด้านต่างๆที่มีความหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้แนวทางการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขมีการปรับปรุงทั้งการบริหารจัดการและแนวนโยบายตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ที่มุ่งพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ ส่งเสริมและสนับสนุนเพิ่มศักยภาพโดยให้มีทีมเวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อให้บริการสุขภาพปฐมภูมิให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้น ประกอบกับเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างหลากหลายในสังคมดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย และผู้ที่จบการศึกษาสามารถทำงานได้ในภาพกว้าง และร่วมกับทีมสุขภาพที่ชัดเจนขึ้นในบริบทภายใต้พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 เพื่อให้สามารถสร้างบุคลากรทีมสุขภาพที่สามารถตอบรับนโยบาย และมีศักยภาพเพียงพอในการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่ประเทศชาติ ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ อีกทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้มีการสร้างองค์ความรู้ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของประเทศและเกิดประโยชน์ต่อประชาชน

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร  (Program Learning Outcomes, PLOs)                                                                      

     ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) มีดังต่อไปนี้

(1) ประยุกต์ศาสตร์ทางการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ระบบบริการสาธารณสุข สถิติสุขภาพ บริหารสาธารณสุข เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข วิทยาการระบาด การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ตรวจรักษาเบื้องต้น คัดกรองโรค ในโรคไม่ติดต่อ (NCD) โรคติดต่อ (รวมถึงโรคอุบัติใหม่-โรคอุบัติซ้ำ) และภาวะสุขภาพจิตเบื้องต้น ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน

(2) ฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในการดูแลสุขภาพชุมชน โดยสามารถทำงานอย่างบูรณาการกับชุมชนและท้องถิ่น การเขียนโครงการ โดยทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ในทุกช่วงวัย และภาวะสุขภาพ

(3) ปฏิบัติการตรวจรักษาโรคเบื้องต้น คัดกรอง ส่งต่อ ทั้งโรคไม่ติดต่อ (NCD) โรคติดต่อ(รวมถึงโรคอุบัติใหม่-โรคอุบัติซ้ำ) และภาวะสุขภาพจิตเบื้องต้น การให้ภูมิคุ้มกันโรค และการทำหัตถการตามขอบเขตของกฎหมาย การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

(4) แสดงออกถึงภาวะผู้นำทางการพยาบาล และไวต่อปัญหา โดยวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ และตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหา /เสนอแนวทางเพื่อการแก้ปัญหา ประสานงานกับผู้บังคับบัญชา และสหสาขาวิชาชีพ

(5)  มีคุณธรรม จริยธรรม ทั้งทางวิชาการและทางวิชาชีพ ตามมาตรฐานที่องค์กรทางวิชาชีพกำหนด มีความรับผิดชอบและปฏิบัติตามกฎหมาย และโดยคำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม

(6)  สามารถใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสารสนเทศทางด้านสุขภาพ เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง พัฒนาคุณภาพการดูแลครอบครัวหรือชุมชนอย่างต่อเนื่อง และพัฒนางานวิจัย (ดิจิทัลเทคโนโลยีทางสุขภาพ หมายถึง โปรแกรม คอมพิวเตอร์ Telehealth สื่อออนไลท์, AI, Digital literacy, Big data ฯลฯ)

(7)  แสดงออกถึงการมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในมิติการสื่อสาร การอ่านและสรุปความในเอกสารภาษาอังกฤษ คิดวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ Self-Directed Learning การเป็น Active Learner

(8)  พัฒนางานวิจัยทางการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการดูแลสุขภาพครอบครัวหรือชุมชน ที่เผยแพร่ผลงานวิชาการ /ผลงานวิจัย ในวารสารระดับชาติ/นานาชาติ อย่างต่อเนื่อง

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร                                                                                                                                        

  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรแผน ก  แบบ ก 2      38   หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร (Program Structure)                                                                                                                                

 

แผน ก แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

วิชาแกน  

- นับหน่วยกิต  

หน่วยกิต 

- ไม่นับหน่วยกิต  

หน่วยกิต 

วิชาบังคับเฉพาะสาขา 

14 

หน่วยกิต 

วิชาเลือก 

หน่วยกิต 

วิทยานิพนธ์ 

12 

หน่วยกิต 

รวมหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  38   หน่วยกิต

 

 

หมวดวิชาเลือก (Elective Course) ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต                                                                                                  

วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน                                                                                                                                 

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร                                                                                                                                                                      

สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

 
ผศ.ดร.จีราภรณ์ กรรมบุตร
 อ.ดร.วนลดา ทองใบ
 รศ.ดร.พานทิพย์ แสงประเสริฐ

 -

อาจารย์ประจำหลักสูตร                                                                                                                                                               

สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

 
ผศ.ดร.จีราภรณ์ กรรมบุตร
 ผศ.ดร.มยุรี นิรัตธราดร
 อ.ดร.วนลดา ทองใบ

 - 

 
 
ผศ.ดร.ปรีย์กมล รัชนกุล
 
ผศ.ดร.ณัฐพัชร์ บัวบุญ
รศ.ดร.พวงผกา คงวัฒนานนท์

 - 

ผศ.ดร.พนิดา ศิริอำพันธ์กุล
ผศ.ดร.วิภาดา แสงนิมิตรชัยกุล

-

อาจารย์ผู้สอน                                                                                                                                                                             

สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

 

 
ผศ.ดร.จีราภรณ์ กรรมบุตร
 ผศ.ดร.มยุรี นิรัตธราดร
 อ.ดร.วนลดา ทองใบ

-

 
 
ผศ.ดร.ปรีย์กมล รัชนกุล
 
ผศ.ดร.ณัฐพัชร์ บัวบุญ
รศ.ดร.พวงผกา คงวัฒนานนท์

 
 
ผศ.ดร.พนิดา ศิริอำพันธ์กุล
 
ผศ.ดร.วิภาดา แสงนิมิตรชัยกุล
อ.ดร.ณัฏฐนันท์พร สงวนกลิ่น

-----

เจ้าหน้าที่ดูแลหลักสูตร                                                                                                                                                                    

 

 
-----

คุณสมบัติผู้สมัคร

เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 7 แห่งข้อบังคับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาใน/ต่างประเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ

(2) มีผลการเรียนที่ค่าเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.50 หากผู้สมัครมีค่าเฉลี่ยสะสม (GPA) ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คณะกรรมการสอบคัดเลือกของคณะฯ จะพิจารณาเป็นรายกรณี

(3) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง หรือการพยาบาล ชั้นหนึ่งที่ยังไม่หมดอายุ

(4) กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทย ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพหรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศนั้น ๆ กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลในประเทศของผู้สมัคร

(5) มีประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาล ไม่ต่ำกว่า 1 ปี นับถึงวันรับสมัคร

 

นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้

(1) สําเร็จการศึกษาขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดหลักสูตร ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

(2) ไม่เป็นผู้ป่วยหรืออยู่ในสภาวะที่จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการศึกษา

(3) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดศีลธรรมอันดี หรือมีพฤติกรรมเสื่อเสียอย่างร้ายแรง

(4) ต้องไม่เคยถูกคัดชื่อออกจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นเพราะมีความผิดทางวินัยภายในระยะเวลา 10 ปี ก่อนการสมัครเข้าเป็นนักศึกษา

วิธีการคัดเลือก                                                                                                                                                                      

(1) ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์

(2) ผู้เข้าศึกษาต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU–GET หรือ TOEFL หรือ IELTS (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)

(3) เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ของคณะพยาบาลศาสตร์

รับสมัครนักศึกษาใหม่

ศิษย์ปัจจุบัน

ดาวน์โหลดฟอร์มและเอกสารต่างๆ

ข้อบังคับกฏระเบียบต่างๆ

ข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2553

ระเบียบว่าด้วยวิทยานิพนธ์ พ.ศ.2553


อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าใช้จ่าย


ข้อกำหนดวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์

รายละเอียดขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์

รายละเอียดขั้นตอนและแนวปฏิบัติในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา


แบบฟอร์มสำหรับอาจารย์

แบบฟอร์มเปลี่ยนแปลงวันสอนของอาจารย์


แบบฟอร์มคำร้องขอต่างๆ

แบบฟอร์มคำร้องขอแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.1)

แบบฟอร์มคำร้องขอเปลี่ยนอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.2)

แบบฟอร์มคำร้องขอสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.3)

แบบฟอร์มคำร้องขอสอบวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.4)

แบบฟอร์มคำร้องขอสอบประมวลวิชาระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.5)

แบบฟอร์มคำร้องขอเปลี่ยนหัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (บพ.6)

แบบฟอร์มขอรักษาสถานภาพนักศึกษา/ลาศึกษาต่อ

แบบฟอร์มขาดสอบ (นศ.)


แบบฟอร์มขั้นตอนการนำเสนอต่างๆ

ขั้นตอนการเสนอหัวข้อ และโครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสังเขป

ขั้นตอนการเสนอสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

ขั้นตอนการเสนอสอบวิทยานิพนธ์ และแจ้งจบการศึกษา

ขั้นตอนในการส่งบทคัดย่อเพื่อตรวจสอบความถูกต้องทางภาษาอังกฤษ


แบบฟอร์มการประเมินต่าง

แบบประเมินสมรรถนะหลักของมหาบัณฑิต(ตอนที่ 1)

แบบประเมินสมรรถนะเฉพาะสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต(ตอนที่ 2)

แบบประเมินสมรรถนะเฉพาะสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน(ตอนที่ 2)

แบบประเมินสมรรถนะเฉพาะสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่(ตอนที่ 2)


แบบฟอร์มการแสดงความคิดเห็นต่าง

ความคิดเห็นโดยรวมต่อหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (ตอนที่ 3)

ความคิดเห็นภายหลังสำเร็จการศึกษา(ตอนที่ 4)


แบบสอบถาม

ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้ร่วมงาน ต่อสมรรถนะเชิงวิชาชีพของมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้ร่วมงาน ต่อสมรรถนะเชิงวิชาชีพของมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้ร่วมงาน ต่อสมรรถนะเชิงวิชาชีพของมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่


หนังสือบันทึก

หนังสือบันทึก(ขอส่งโครงร่างวิทยานิพนธ์ฯเข้าพิจารณาในคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยภายนอก)

หนังสือบันทึก(ขอความอนุเคราะห์ขอใช้เครื่องมือวิจัย)

หนังสือบันทึก(ขอขยายเวลาการส่งเล่มวิทยานิพนธ์)

หนังสือบันทึก(ขอเรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิตรวจเครืองมือวิจัย)

หนังสือบันทึก(ขอส่งโครงร่างวิทยานิพนธ์เข้าพิจารณาในสาขาและคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา)

หนังสือบันทึก(ทดสอบเครื่องมือวิจัยและเก็บข้อมูลวิจัย)

 

 

 

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

website hits counter