Loading...

เกี่ยวกับหลักสูตร

ประวัติการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์              

           คณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับการสถาปนาเป็นคณะลำดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 113 ตอนที่ 24 ก คณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับการก่อตั้งตามแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษาระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) ในการจัดการศึกษาสาขาวิชาชีพการพยาบาล ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อผลิตพยาบาลในการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่สังคม และเพื่อปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยได้ตัดโอนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพยาบาลทั้งหมด รวมทั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตร 1 ปี) พ.ศ. 2538 จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2539 คณะพยาบาลศาสตร์ ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนเป็นปีแรก โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตร 1 ปี) ทั้งนี้ได้จัดการเรียนการสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลเพียง 1 รุ่น

          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาครั้งแรกในปีการศึกษา 2548 โดยเปิด 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว ต่อมาในในปีการศึกษา 2551 ได้เปิดสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ขึ้น ซึ่งต่อมาปรับเป็นสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคม และมีการปรับปรุงหลักสูตรตามวงรอบทุก 5 ปี ในปีการศึกษา 2558 คณะพยาบาลศาสตร์ ได้เปิดหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พยาบาลศาสตร์) หลักสูตรนานาชาติ หรือ Doctor of Philosophy; Ph.D. (Nursing Science) ขึ้น ปัจจุบัน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา 4 หลักสูตร ได้แก่ระดับปริญญาโท 3 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร

          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะส่งมอบบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิตทางการพยาบาลที่มีคุณภาพเทียบเท่าคณะพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ และมีอัตลักษณ์พยาบาลธรรมศาสตร์ คือ“คุณธรรมนำชีวิต คิดเป็นระบบ ค้นพบนวัตกรรม ภาวะผู้นำโดดเด่น เป็นพลเมืองดี” ให้กับสังคมและประชาชนตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ที่ว่า “มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน” หรือ "THAMMASAT FOR THE PEOPLE"

          คณะพยาบาลศาสตร์ ดำเนินการหลักสูตรทุกหลักสูตรตามแนวทางการจัดการการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ (Outcome based education) และให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรทุกระดับ สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา ปัจจุบันดำเนินการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาโทด้วยเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (IQA) ส่วนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตพยาบาลศาสตร์ ประกันคุณภาพโดยใช้เกณฑ์ Asian University Network Quality Assurance (AUNQA) และคาดว่าทุกหลักสูตรจะได้รับการขึ้นทะเบียนหลักสูตรที่มีคุณภาพ (Thai Qualification Register: TQR)

          ทั้งนี้ในการผลิตบัณฑิตทุกระดับให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล รวมทั้งมีอัตลักษณ์พยาบาลธรรมศาสตร์ตามที่กำหนด โดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา การเตรียมและพัฒนาอาจารย์มีความสำคัญมาก ดังนั้นการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาให้ทราบเกณฑ์คุณภาพที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการพัฒนาตนเองที่ชัดเจน จึงเป็นส่วนหนึ่งของบันไดขั้นแรกที่นำไปสู่การรับรองคุณภาพหลักสูตรและสถาบันต่อไป การจัดทำคู่มือสำหรับปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ระดับบัณฑิตศึกษา ให้มีมาตรฐาน ครอบคลุมเกณฑ์คุณภาพที่เป็นปัจจุบันจึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยให้อาจารย์ใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาทุกคนได้ทราบแนวทาง และได้รับโอกาสในการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน

          จะเห็นได้ว่า กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยังคงมุ่งมั่นที่จะก้าวต่อไปอย่างมั่นคงเพื่อส่งมอบบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิตทางการพยาบาลที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล และมีอัตลักษณ์พยาบาลธรรมศาสตร์ให้กับสังคมและประชาชนต่อไป

 

ปรัชญาการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                                                                                                                         

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง มีผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ที่มีคุณภาพระดับสูงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ หลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เน้นความสมบูรณ์ ลุ่มลึก และโดดเด่นในองค์ความรู้ที่ครบถ้วนในทุกศาสตร์ เพื่อการพัฒนา และการแก้ปัญหาให้แก่สังคมไทยและภูมิภาค สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาวะเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัฒน์

อ้างอิง: http://sa.tu.ac.th/

หลักสูตร

                            หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต                       ปรัชญาหลักสูตร (Program Philosophy)                                                                                                                                         

             หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต มีความเชื่อว่า พยาบาลที่จบในสาขานี้ จักเป็นผู้รอบรู้ มีภาวะผู้นำ และความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันภาวะเจ็บป่วยทางจิต บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพ ทุกกลุ่มวัย กลุ่มที่มีความเจ็บป่วยทางจิตเล็กน้อยจนถึงระดับรุนแรง รวมทั้งผู้ใช้และผู้ติดสารเสพติดที่มีปัญหาซับซ้อนได้ ด้วยแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อออกแบบการให้บริการทางการพยาบาลอย่างได้มาตรฐาน การให้บริการสุขภาพทางไกล (Telehealth) แก่ผู้ใช้บริการที่มีปัญหาซับซ้อนด้านจิตเวชและสุขภาพจิตรวมทั้งผู้ที่ใช้สารเสพติด ได้อย่างมีคุณภาพ สะท้อนการปฏิบัติที่ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรม มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ยุคดิจิทัลเทคโนโลยี ทันโลก ทันสังคม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ เปลี่ยนแปลงตนเอง สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ความสำคัญของหลักสูตร (Program Importance)                                                                                                                          

          การพัฒนากำลังคนเป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (2566-2570) ทั้งนี้ในการระดมสมองของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อจัดทำร่างฉบับที่ 13 ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาพลิกโฉมประเทศไทย ๔ ด้าน คือ เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาค วิถีชีวิตที่ยั่งยืน และปัจจัยสนับสนุนการพลิกโฉมประเทศ โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรคือการกำหนดให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะกำลังคนให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต โดยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพันธกิจหลักในการพัฒนาบุคลากรในระดับอุดมศึกษาให้มีสมรรถนะอย่างมืออาชีพ มีความทันสมัย ทันโลกเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในมิติต่าง ๆ มีความสำนึกรับผิดชอบอย่างยั่งยืนทั้งต่อตนเอง คนรอบข้าง สังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถจะสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ และทรงพลัง มีทักษะในการสุนทรียสนทนา ซาบซึ้งในความงาม คุณค่าของศิลปะดนตรี และสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นแสดงบทบาทของผู้นำและบทบาทของสมาชิกทีมได้อย่างมีประสิทธิผล มีจิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์ เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย เคารพในสิทธิเสรีภาพ ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างและต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม ดังนั้น การออกแบบหลักสูตร พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีเป้าหมายสำคัญยิ่งในการผลิตให้มหาบัณฑิต มีสมรรถนะสอดคล้องกับมหาวิทยาลัย สะท้อนอัตลักษณ์ แห่งสถาบัน คือ “คุณธรรมนำชีวิต คิดเป็นระบบ ค้นพบนวัตกรรม ภาวะผู้นำโดดเด่น เป็นพลเมืองดี” ด้วยกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม ตั้งมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน ใช้สติ ความเพียร ปัญญา คิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ มีความใฝ่รู้ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ภาวะผู้นำ ทำงานเป็นทีม สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี และสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิผล ประยุกต์ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อการพัฒนานวัตกรรมในการบริการสุขภาพ การออกแบบงานวิจัยที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และบริบทต่าง ๆ เพื่อการดูแลสุขภาพประชาชนให้ได้ผลลัพธ์คือภาวะสุขภาพที่ดี

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)                                                                      

     ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) มีดังต่อไปนี้

PLO1 : บูรณาการความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ ในศาสตร์ทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต  ครอบคลุมการให้การพยาบาลผู้ที่ปัญหาทางจิตเวชและสุขภาพจิต  และผู้ใช้ยาและสารเสพติด ที่ซับซ้อน รวมทั้งครอบครัวและชุมชนได้ 

PLO2 : พัฒนางานวิจัย และ/หรือต่อยอดนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต และแก้ไขปัญหาทางจิตเวชและการใช้สารเสพติดที่ซับซ้อน

PLO3 : แสดงภาวะผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพ สนับสนุนให้ผู้ร่วมงานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

PLO4 : คิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสร้างสรรค์

PLO5 : แสดงออกถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม ทั้งทางวิชาการ และวิชาชีพ ตามมาตรฐานองค์กรวิชาชีพ และปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงาน/องค์กร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

PLO6 : พัฒนาตนเอง บริหารจัดการ ด้านการเรียนรู้ และสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ และต่อเนื่องตลอดชีวิต

PLO7 : ประยุกต์ดิจิทัลเทคโนโลยี สารสนเทศที่ทันสมัย มาใช้ในการเรียนรู้และทำวิจัย

 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร                                                                                                                                      

1. จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรแผน ก  แบบ ก 1      36   หน่วยกิต

2. จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรแผน ก  แบบ ก 2      38   หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร (Program Structure)                                                                                                                                

แผน ก แบบ ก 1 ทําเฉพาะวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

          ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถศึกษารายวิชาเลือกเพิ่มเติมได้ (ไม่นับหน่วยกิต) โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

แผน ก แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

วิชาแกน  

- นับหน่วยกิต  

หน่วยกิต 

- ไม่นับหน่วยกิต  

หน่วยกิต 

วิชาบังคับเฉพาะสาขา 

14 

หน่วยกิต 

วิชาเลือก 

หน่วยกิต 

วิทยานิพนธ์ 

12 

หน่วยกิต 

รวมหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  38   หน่วยกิต

 

แผนการศึกษาแผน ก แบบ ก 2 มีการจัดแผนการศึกษาแบ่งเป็น 2 อนุสาขา คือ                                                                       

1. อนุสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

2. อนุสาขาการพยาบาลผู้ใช้ยาและสารเสพติด 

 

หมวดวิชาเลือก (Elective Course) ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต                                                                                                  

วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน                                                                                                                                 

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร                                                                                                                                                                      

สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

ผศ.ดร.นุชนาถ บรรทุมพร
รศ.ดร.เอกอุมา อิ้มคำ
ผศ.ดร.ปริยศ กิตติธีระศักดิ์
 

อาจารย์ประจำหลักสูตร                                                                                                                                                               

สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

ผศ.ดร.นุชนาถ บรรทุมพร
รศ.ดร.เอกอุมา อิ้มคำ
ผศ.ดร.ปริยศ กิตติธีระศักดิ์
 

-

ศ.ดร.รังสิมันต์ สุนทรไชยา
ผศ.ดร.อังคณา จิรโรจน์
ผศ.ดร.ทิพย์สุดา สำเนียงเสนาะ
ผศ.ดร.เกสร มุ้ยจีน
 

-----

อาจารย์ผู้สอน                                                                                                                                                                             

สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

ผศ.ดร.นุชนาถ บรรทุมพร
รศ.ดร.เอกอุมา อิ้มคำ
ผศ.ดร.ปริยศ กิตติธีระศักดิ์
 

-

รศ.ดร.รังสิมันต์ สุนทรไชยา
ผศ.ดร.อังคณา จิรโรจน์
ผศ.ดร.ทิพย์สุดา สำเนียงเสนาะ
ผศ.ดร.เกสร มุ้ยจีน

-----

เจ้าหน้าที่ดูแลหลักสูตร                                                                                                                                                                    

นางสาวทักษพร กิตติพงษ์

-----

          

คุณสมบัติผู้สมัคร

เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 7 แห่งข้อบังคับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาใน/ต่างประเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ

(2) มีผลการเรียนที่ค่าเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.50 หากผู้สมัครมีค่าเฉลี่ยสะสม (GPA) ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คณะกรรมการสอบคัดเลือกของคณะฯ จะพิจารณาเป็นรายกรณี

(3) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง หรือการพยาบาล ชั้นหนึ่งที่ยังไม่หมดอายุ

(4) กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทย ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพหรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศนั้น ๆ กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลในประเทศของผู้สมัคร

(5) มีประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาล ไม่ต่ำกว่า 1 ปี นับถึงวันรับสมัคร

 

นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้

(1) สําเร็จการศึกษาขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดหลักสูตร ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

(2) ไม่เป็นผู้ป่วยหรืออยู่ในสภาวะที่จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการศึกษา

(3) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดศีลธรรมอันดี หรือมีพฤติกรรมเสื่อเสียอย่างร้ายแรง

(4) ต้องไม่เคยถูกคัดชื่อออกจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นเพราะมีความผิดทางวินัยภายในระยะเวลา 10 ปี ก่อนการสมัครเข้าเป็นนักศึกษา

วิธีการคัดเลือก                                                                                                                                                                      

(1) ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์

(2) ผู้เข้าศึกษาต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU–GET หรือ TOEFL หรือ IELTS (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)

(3) เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ของคณะพยาบาลศาสตร์

รับสมัครนักศึกษาใหม่

ศิษย์ปัจจุบัน

สมาคมศิษย์เก่า

ดาวน์โหลดฟอร์มและเอกสารต่างๆ

ข้อบังคับกฏระเบียบต่างๆ

ข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2553

ระเบียบว่าด้วยวิทยานิพนธ์ พ.ศ.2553


อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าใช้จ่าย


ข้อกำหนดวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์

รายละเอียดขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์

รายละเอียดขั้นตอนและแนวปฏิบัติในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา


แบบฟอร์มสำหรับอาจารย์

แบบฟอร์มเปลี่ยนแปลงวันสอนของอาจารย์


แบบฟอร์มคำร้องขอต่างๆ

แบบฟอร์มคำร้องขอแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.1)

แบบฟอร์มคำร้องขอเปลี่ยนอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.2)

แบบฟอร์มคำร้องขอสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.3)

แบบฟอร์มคำร้องขอสอบวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.4)

แบบฟอร์มคำร้องขอสอบประมวลวิชาระดับบัณฑิตศึกษา (บพ.5)

แบบฟอร์มคำร้องขอเปลี่ยนหัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (บพ.6)

แบบฟอร์มขอรักษาสถานภาพนักศึกษา/ลาศึกษาต่อ

แบบฟอร์มขาดสอบ (นศ.)


แบบฟอร์มขั้นตอนการนำเสนอต่างๆ

ขั้นตอนการเสนอหัวข้อ และโครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสังเขป

ขั้นตอนการเสนอสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

ขั้นตอนการเสนอสอบวิทยานิพนธ์ และแจ้งจบการศึกษา

ขั้นตอนในการส่งบทคัดย่อเพื่อตรวจสอบความถูกต้องทางภาษาอังกฤษ


แบบฟอร์มการประเมินต่าง

แบบประเมินสมรรถนะหลักของมหาบัณฑิต(ตอนที่ 1)

แบบประเมินสมรรถนะเฉพาะสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต(ตอนที่ 2)

แบบประเมินสมรรถนะเฉพาะสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน(ตอนที่ 2)

แบบประเมินสมรรถนะเฉพาะสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่(ตอนที่ 2)


แบบฟอร์มการแสดงความคิดเห็นต่าง

ความคิดเห็นโดยรวมต่อหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (ตอนที่ 3)

ความคิดเห็นภายหลังสำเร็จการศึกษา(ตอนที่ 4)


แบบสอบถาม

ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้ร่วมงาน ต่อสมรรถนะเชิงวิชาชีพของมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้ร่วมงาน ต่อสมรรถนะเชิงวิชาชีพของมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้ร่วมงาน ต่อสมรรถนะเชิงวิชาชีพของมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่


หนังสือบันทึก

หนังสือบันทึก(ขอส่งโครงร่างวิทยานิพนธ์ฯเข้าพิจารณาในคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยภายนอก)

หนังสือบันทึก(ขอความอนุเคราะห์ขอใช้เครื่องมือวิจัย)

หนังสือบันทึก(ขอขยายเวลาการส่งเล่มวิทยานิพนธ์)

หนังสือบันทึก(ขอเรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิตรวจเครืองมือวิจัย)

หนังสือบันทึก(ขอส่งโครงร่างวิทยานิพนธ์เข้าพิจารณาในสาขาและคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา)

หนังสือบันทึก(ทดสอบเครื่องมือวิจัยและเก็บข้อมูลวิจัย)

 

 

 

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

website hit counter