Loading...

เกี่ยวกับหลักสูตร

ประวัติการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์        

          คณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับการสถาปนาเป็นคณะลำดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 113 ตอนที่ 24 ก คณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับการก่อตั้งตามแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษาระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) ในการจัดการศึกษาสาขาวิชาชีพการพยาบาล ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อผลิตพยาบาลในการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่สังคม และเพื่อปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยได้ตัดโอนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพยาบาลทั้งหมด รวมทั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตร 1 ปี) พ.ศ. 2538 จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2539 คณะพยาบาลศาสตร์ ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนเป็นปีแรก โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตร 1 ปี) ทั้งนี้ได้จัดการเรียนการสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลเพียง 1 รุ่น

          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาครั้งแรกในปีการศึกษา 2548 โดยเปิด 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว ต่อมาในในปีการศึกษา 2551 ได้เปิดสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ขึ้น ซึ่งต่อมาปรับเป็นสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคม และมีการปรับปรุงหลักสูตรตามวงรอบทุก 5 ปี ในปีการศึกษา 2558 คณะพยาบาลศาสตร์ ได้เปิดหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พยาบาลศาสตร์) หลักสูตรนานาชาติ หรือ Doctor of Philosophy; Ph.D. (Nursing Science) และในปีการศึกษา 2568 คณะพยาบาลศาสตร์ ได้เปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก ขึ้น ปัจจุบัน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา 2 หลักสูตร ได้แก่ระดับปริญญาโท 4 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร

          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะส่งมอบบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิตทางการพยาบาลที่มีคุณภาพเทียบเท่าคณะพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ และมีอัตลักษณ์พยาบาลธรรมศาสตร์ คือ“คุณธรรมนำชีวิต คิดเป็นระบบ ค้นพบนวัตกรรม ภาวะผู้นำโดดเด่น เป็นพลเมืองดี” ให้กับสังคมและประชาชนตามปณิธานของมหาวิทยาลัย ที่ว่า “มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน” หรือ "THAMMASAT FOR THE PEOPLE"

          คณะพยาบาลศาสตร์ ดำเนินการหลักสูตรทุกหลักสูตรตามแนวทางการจัดการการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ (Outcome based education) และให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรทุกระดับ สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา ปัจจุบันดำเนินการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาโทด้วยเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (IQA) ส่วนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตพยาบาลศาสตร์ ประกันคุณภาพโดยใช้เกณฑ์ Asian University Network Quality Assurance (AUNQA) และคาดว่าทุกหลักสูตรจะได้รับการขึ้นทะเบียนหลักสูตรที่มีคุณภาพ (Thai Qualification Register: TQR)

          ทั้งนี้ในการผลิตบัณฑิตทุกระดับให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล รวมทั้งมีอัตลักษณ์พยาบาลธรรมศาสตร์ตามที่กำหนด โดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา การเตรียมและพัฒนาอาจารย์มีความสำคัญมาก ดังนั้นการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาให้ทราบเกณฑ์คุณภาพที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการพัฒนาตนเองที่ชัดเจน จึงเป็นส่วนหนึ่งของบันไดขั้นแรกที่นำไปสู่การรับรองคุณภาพหลักสูตรและสถาบันต่อไป การจัดทำคู่มือสำหรับปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ระดับบัณฑิตศึกษา ให้มีมาตรฐาน ครอบคลุมเกณฑ์คุณภาพที่เป็นปัจจุบันจึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยให้อาจารย์ใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาทุกคนได้ทราบแนวทาง และได้รับโอกาสในการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน

          จะเห็นได้ว่า กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยังคงมุ่งมั่นที่จะก้าวต่อไปอย่างมั่นคงเพื่อส่งมอบบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิตทางการพยาบาลที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล และมีอัตลักษณ์พยาบาลธรรมศาสตร์ให้กับสังคมและประชาชนต่อไป

 

ปรัชญาการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                                                                                                                      

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง มีผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ที่มีคุณภาพระดับสูงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ หลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เน้นความสมบูรณ์ ลุ่มลึก และโดดเด่นในองค์ความรู้ที่ครบถ้วนในทุกศาสตร์ เพื่อการพัฒนา และการแก้ปัญหาให้แก่สังคมไทยและภูมิภาค สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาวะเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัฒน์

อ้างอิง: http://sa.tu.ac.th/

หลักสูตร

                                           หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก                                          ปรัชญาหลักสูตร (Program Philosophy)                                                                                                                                    

          หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก เป็นหนึ่งหลักสูตรที่ช่วยผลักดันให้คณะสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว  โดยปรัชญาการศึกษาของหลักสูตรมีความเชื่อว่า การพยาบาลเป็นวิชาชีพที่จำเป็นต่อสังคม มีบทบาทในการให้การช่วยเหลือดูแลคนโดยครอบคลุมเป็นองค์รวม ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วัยทารกจนวัยชราในทุกภาวะสุขภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บุคคลอยู่ในภาวะสุขภาพที่ดีที่สุด มีความผาสุกในชีวิตในครอบครัว การพยาบาลเด็กป็นสาขาวิชาเฉพาะทางการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสุขภาพแก่เด็กและครอบครัว มุ่งเน้นให้เด็กทุกวัยและทุกภาวะสุขภาพได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ดูแลช่วยเหลือ บำบัดรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสภาพที่มีคุณภาพสูงสุด โดยพัฒนาการดำเนินงานที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง และเป็นการดูแลสุขภาพเด็กที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อนจนถึงระยะท้ายของชีวิตโดยใช้ศาสตร์ทางการพยาบาล และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานและจริยธรรมของวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวที่ดี

          การศึกษาพยาบาลของหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก เป็นกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เป็นบุคลากรทางการพยาบาลที่มีคุณธรรมจริยธรรม ควบคู่กับความรู้และทักษะเชิงวิชาชีพ  มีสมรรถนะการพยาบาลเด็กขั้นสูงเพื่อการดูแลสุขภาพเด็กที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อนทั้งด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการ ภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพตั้งแต่เล็กน้อย วิกฤติ เรื้อรัง และระยะท้ายของชีวิต หลักสูตรมีความเชื่อว่า การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้น ครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการ เรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรจึงมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ฝึกปฏิบัติในสถานการณ์เสมือนจริงและสถานการณ์จริง บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ  เพื่อให้บัณฑิตเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อชีวิต

          หลักสูตรฯ จึงมุ่งสร้างบัณฑิตพยาบาลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการพยาบาลเด็กและครอบครัว สามารถให้การพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล มีทักษะในการบูรณาการหลักฐานเชิงประจักษ์  ศาสตร์ทางการพยาบาลและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสุขภาพผู้รับบริการวัยเด็กและครอบครัว   และมีทักษะในการจัดระบบการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาการพยาบาล  วิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาลเด็ก  ตลอดจนมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง สามารถเติบโตในสายงานอย่างมืออาชีพ  มีความสามารถในการบริหารจัดการด้านการพยาบาลและทำงานเป็นทีมร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการปรับตัว ยืดหยุ่น และพร้อมรับกับสถานการณ์ที่ท้าทายในการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ เป็นบัณฑิตพยาบาลที่สามารถตอบสนองต่อปัญหาทางสุขภาพที่ซับซ้อนของเด็ก สามารถพัฒนางานวิจัย นวัตกรรมทางการพยาบาลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพบริการพยาบาล อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กและครอบครัว

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)                                                                             

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) มีดังต่อไปนี้

- ด้านความรู้ (Knowledge)

PLO1 (K1) : ออกแบบการบริการการพยาบาลเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กและครอบครัวที่ซับซ้อนโดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางการพยาบาลเด็กและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

PLO2 (K2) : พัฒนานวัตกรรมหรือผลิตงานวิจัยทางการพยาบาลเด็กและครอบครัว ในกลุ่มเด็กมีความต้องการพิเศษ หรือกลุ่มเฉพาะโรคที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน หรืออยู่ในระยะประคับประคอง

- ด้านทักษะ (Skills)

PLO3 (S1) : ออกแบบการพยาบาลขั้นสูงในการดูแลเด็กและครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน

PLO4 (S2) : ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีทางสุขภาพเพื่อแสวงหาความรู้ในการพัฒนาตนเองและแก้ปัญหา

- ด้านจริยธรรม (Ethics)

PLO5 (E1) : แสดงออกถึงพฤติกรรมความซื่อสัตย์สุจริตทางวิชาการ การกระทำที่สะท้อนความเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

- ด้านลักษณะบุคคล (Character)

PLO6 (C1) : แสดงภาวะผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ประสานความร่วมมือ และทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

PLO7 (C2) : ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทางวิชาการ

 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร                                                                                                                                      

แผน 1 แบบวิชาการ ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว                36   หน่วยกิต

แผน 1 แบบวิชาการ ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์     36   หน่วยกิต

 

โครงสร้างหลักสูตร (Program Structure)                                                                                                                                

แผน ก แบบ ก 1 ทําเฉพาะวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

          ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถศึกษารายวิชาเลือกเพิ่มเติมได้ (ไม่นับหน่วยกิต) โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

แผน ก แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

วิชาแกน  

- นับหน่วยกิต  

หน่วยกิต 

- ไม่นับหน่วยกิต  

หน่วยกิต 

วิชาบังคับเฉพาะสาขา 

14 

หน่วยกิต 

วิชาเลือก 

หน่วยกิต 

วิทยานิพนธ์ 

12 

หน่วยกิต 

รวมหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  38   หน่วยกิต

 

แผนการศึกษาแผน ก แบบ ก 2 มีการจัดแผนการศึกษาแบ่งเป็น 2 อนุสาขา คือ                                                                       

1. อนุสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

2. อนุสาขาการพยาบาลผู้ใช้ยาและสารเสพติด 

 

หมวดวิชาเลือก (Elective Course) ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต                                                                                                  

วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน                                                                                                                                 

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร                                                                                                                                                                      

สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

ผศ.ดร.นุชนาถ บรรทุมพร
รศ.ดร.เอกอุมา อิ้มคำ
ผศ.ดร.ปริยศ กิตติธีระศักดิ์
 

อาจารย์ประจำหลักสูตร                                                                                                                                                               

สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

ผศ.ดร.นุชนาถ บรรทุมพร
รศ.ดร.เอกอุมา อิ้มคำ
ผศ.ดร.ปริยศ กิตติธีระศักดิ์
 

-

รศ.ดร.รังสิมันต์ สุนทรไชยา
รศ.ดร.อังคณา จิรโรจน์
ผศ.ดร.ทิพย์สุดา สำเนียงเสนาะ
ผศ.ดร.เกสร มุ้ยจีน
 

-----

อาจารย์ผู้สอน                                                                                                                                                                             

สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

ผศ.ดร.นุชนาถ บรรทุมพร
รศ.ดร.เอกอุมา อิ้มคำ
ผศ.ดร.ปริยศ กิตติธีระศักดิ์
 

-

รศ.ดร.รังสิมันต์ สุนทรไชยา
รศ.ดร.อังคณา จิรโรจน์
ผศ.ดร.ทิพย์สุดา สำเนียงเสนาะ
ผศ.ดร.เกสร มุ้ยจีน

-----

เจ้าหน้าที่ดูแลหลักสูตร                                                                                                                                                                    

นางสาวทักษพร กิตติพงษ์

-----